เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
เรื่องความเจริญด้วยอายุและวรรณะ เป็นต้น

สมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้ เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ พวกเขาจักเจริญ
ด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อพวกเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วย
วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุขัย 10 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 20 ปี
ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้นจักปรึกษากันอย่างนี้ว่า ‘พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ ทางที่ดี พวกเราควรทำ
กุศลธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอย่างไรบ้าง พวกเราควรงดเว้นจากอทินนาทาน
(การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้) ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ
ผิดในกาม) ควรงดเว้นจากมุสาวาท(การพูดเท็จ) ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา(การพูด
ส่อเสียด) ควรงดเว้นจากผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
(การพูดเพ้อเจ้อ) ควรละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ควรละพยาบาท
(ความคิดร้ายผู้อื่น) ควรละมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ควรละธรรม 3 ประการ คือ
อธัมมราคะ วิสมโลภะ และมิจฉาธรรม ทางที่ดี พวกเราควรเกื้อกูลมารดา ควร
เกื้อกูลบิดา ควรเกื้อกูลสมณะ ควรเกื้อกูลพราหมณ์ และควรประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้ ดังนี้ เขาเหล่านั้น
จักเกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ และประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้
เพราะสมาทานกุศลธรรมเป็นเหตุ พวกเขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
วรรณะบ้าง เมื่อพวกเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์
ที่มีอายุขัย 20 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 40 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 40 ปี
จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 80 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 80 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้น
เป็น 160 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 160 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 320 ปี
บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 320 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 640 ปี บุตรของมนุษย์
ผู้มีอายุขัย 640 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย
2,000 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 4,000 ปี
จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 8,000 ปี จักมีอายุขัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :76 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [3. จักกวัตติสูตร]
ความอุบัติของพระราชาพระนามว่าสังขะ

เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 20,000 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้น
เป็น 40,000 ปี บุตรของมนุษย์ผู้มีอายุขัย 40,000 ปี จักมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็น
80,000 ปี เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี เด็กหญิงมีอายุ 500 ปี จึงจักสมควร
มีสามีได้

ความอุบัติของพระราชาพระนามว่าสังขะ

[106] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี จักมีอาพาธ 3 อย่าง
คือ (1) อิจฉา1 (2) อนสนะ2 (3) ชรา เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี ชมพูทวีปนี้
จักมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ บ้าน นิคมและราชธานีมีทุกระยะชั่วไก่บินตก3 เมื่อมนุษย์มี
อายุขัย 80,000 ปี ชมพูทวีปนี้ จักดูประหนึ่งอเวจีนรกที่แออัดยัดเยียดไปด้วย
ผู้คนทั้งหลาย เหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี
กรุงพาราณสีนี้ จักเป็นราชธานีนามว่ากรุงเกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
มีพลเมืองมาก มีประชากรคับคั่ง และมีภักษาหารสมบูรณ์4 เมื่อมนุษย์มีอายุ
80,000 ปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมือง 84,000 เมือง มีกรุงเกตุมดีราชธานีเป็น
เมืองเอก เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสังขะ
ทรงอุบัติขึ้น ณ กรุงเกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็น

เชิงอรรถ :
1 อิจฉา ในที่นี้หมายถึงตัณหาที่ทำให้เกิดคำพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงให้อาหารแก่เรา’ (ที.ปา.อ. 106/40)
2 อนสนะ ในที่นี้หมายถึงความเฉื่อยชาทางกายของผู้กินอาหารอิ่มแล้วต้องการจะนอนเพราะเมาอาหาร
(ที.ปา.อ. 106/40)
3 มีทุกระยะชั่วไก่บินตก ในที่นี้หมายถึงระยะห่างจากบ้านหนึ่งถึงบ้านหนึ่ง คำนวณจากการบินของไก่ คือ
ในเมืองนี้ ไก่สามารถบินจากหลังคาบ้านหลังหนึ่งไปลงหลังคาบ้านหลังหนึ่งได้ซึ่งแสดงว่ามีบ้านเรือนหนาแน่น
จนไก่บินถึงกันได้ (ที.ปา.อ. 106/40)
4 มีภักษาหารสมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงสมบูรณ์ด้วยอาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค (ที.ม.อ.
210/194)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :77 }